Ref:
เพลงสามารถสร้างโฆษณาได้หรือไม่!?
เสียงเพลงและเสียงพูดเป็นสิ่งที่สามารถเรียกและกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ เป็นการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยที่ไม่ต้องพูด จึงเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับนักการตลาดและผู้จัดการแบรนด์ เสียงและเพลงของแบรนด์ในโฆษณา จึงกลายเป็นส่วนสำคัญที่สื่อถึงเอกลักษณ์ของแบรนด์ได้มากกว่าที่ผ่านมา
ยกตัวอย่างเช่น “เสียง Ta Dum” ที่เป็นเสียงเฉพาะตัวของ Netflix ถูกผสมสานไปใช้ในทางการตลาด โฆษณา และการสื่อสารได้เป็นอย่างดี อย่างแคมเปญล่าสุดของ Netflix ที่ได้กล่าวว่า “ฟังดูเหมือนเรื่องดี ๆ กำลังจะเริ่มต้นขึ้น” การสื่อสารผ่านข้อความนี้ก็สะท้อนเสียง Ta Dum ได้เป็นอย่างดี
ในขณะที่การใช้เสียงอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะแบรนด์อย่าง Netflix ถือว่าเป็นกลยุทธ์ระดับมาสเตอร์คลาสในการใช้เสียงสร้างแบรนด์ นอกจากนี้ยังมีแบรนด์ Coca-cola ก็เป็นอีกแบรนด์ที่ก้าวเข้าไปอีกขั้น ด้วยการผสมผสานเสียงเฉพาะตัวของแบรนด์ให้เข้าไปอยู่ในแคมเปญโฆษณาได้อย่างสร้างสรรค์
ยกตัวอย่างแคมเปญ "Try Not to Hear This" เป็นแคมเปญที่นำเสียงไอคอลิคมาใช้ ซึ่งเป็นเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ของ Coca-cola อย่างเช่น เสียงหักกระป๋องโคคาโคล่า เสียงเปิดขวดดังป๊อก รวมถึงเสียงฟองที่ดูมีชีวิตชีวาจริง ๆ
ตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เห็นถึงความสำคัญ และบทบาทของเสียงเพลงในการจดจำแบรนด์ นอกจากนี้ก็ยังมีการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง ที่ศึกษาและวิจัยโดย Man Made Music ทดสอบแล้วว่าเพลงสามารถเพิ่มการรับรู้แบรนด์ได้มากถึง 46% รวมถึงยังมีการศึกษาอื่น ๆ ที่จัดทำโดย PHMG แสดงให้เห็นว่า 74% ของวัยหนุ่มสาว มีความรู้ความเข้าใจด้านบุคลิกภาพได้ดีขึ้นเมื่อเรียนรู้ผ่านเพลง
ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดทางเสียงเพลง ยังเห็นพ้องต้องกันว่า เพลงและเสียงมีผลต่ออารมณ์และจิตใจของผู้บริโภค เมื่อผู้บริโภคได้ฟังเพลงเหล่านั้นอย่างต่อเนื่อง ยิ่งทำให้พวกเขาจดจำแบรนด์ได้มากขึ้นอีกด้วย
บทบาทของเพลงในการโฆษณาและการตลาด
จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะจดจำแบรนด์ที่ใช้เพลงที่เป็นเอกลักษณ์และสอดคล้องกับแบรนด์ได้มากถึง 96% นอกจากจะช่วยให้จดจำแบรนด์ได้มากขึ้นแล้ว เพลงยังมีบทบาทด้านการทำโฆษณาและการสร้างตัวตนของแบรนด์อย่างมาก
ดนตรีช่วยปลุกอารมณ์ความรู้สึก
แม้ว่าประสบการณ์ด้านเพลงจะจำแนกเป็นอารมณ์เฉพาะตัวส่วนบุคคล นักวิทยาศาสตร์ของ UC Berkeley ได้แบ่งกลุ่มอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์เอาไว้อย่างน้อย 13 อารมณ์ นั้นรวมถึงความสุข ความสวยงาม ความสนุกสนาน ความผ่อนคลาย ความรำคาญ และอื่น ๆ อีกมากมาย พวกเขาได้ทำการสำรวจผู้คนมากกว่า 2,500 คนจากประเทศสหรัฐอเมริกาและจีน ได้สำรวจและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการตอบสนองทางอารมณ์ต่อเพลงสไตล์ต่าง ๆ เช่น โฟล์ก แจ๊ส ร็อค คลาสสิค และอื่น ๆ
จากการศึกษาเกี่ยวกับโฆษณาทางโทรทัศน์มากกว่า 600 รายการที่ดำเนินการโดย Nielsen พบว่าโฆษณาที่มีเพลงมักดีกว่าโฆษณาที่ไม่มีเพลง ในด้านของความคิดสร้างสรรค์ การสื่อสารด้านอารมณ์ และการสื่อสารข้อมูล ด้วยความก้าวหน้าในเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ คุณสามารถใช้เครื่องมือ AI เพื่อประเมินเพลงโฆษณาของคุณตามหลักเกณฑ์ของแบรนด์และเป้าหมายโฆษณาก่อนที่โฆษณาของคุณจะเผยแพร่ได้ด้วยเช่นกัน
ดนตรีเป็นเครื่องมือสำคัญในการเล่าเรื่องที่ทรงพลัง
การตลาดไม่มีอะไรนอกจากศิลปะในการเล่าเรื่อง รวมทั้งเรื่องราวที่กระตุ้นการกระทำ ทำให้ผู้คนเกิดอารมณ์และความรู้สึกคล้อยตาม เป็นเหมือนเครื่องมือที่มีผลต่อการเล่าเรื่อง ทั้งในภาพยนตร์ รายการทีวี โฆษณา หรือชีวิตจริง
เพลงมีความสามารถในการเร่งเร้าให้เกิดความรวดเร็ว หรือชะลอเรื่องให้เกิดความช้าลง เป็นเหมือนตัวเชื่อมโยงกลุ่มเป้าหมายที่ดูอยู่เข้ากับหน้าจอที่กำลังเล่นโฆษณา ทำให้หน้าจอที่โชว์อยู่มีชีวิตชีวาและน่าสนใจขึ้นมาทันตาเห็น
ดนตรีกระตุ้นให้เกิดการลงมือทำ
ในการศึกษาที่จัดทำโดยสมาคมวิจัยผู้บริโภคเพื่อเข้าใจถึงผลที่มีต่อเพลงโฆษณา พบว่าเพลงมีผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพในการทำโฆษณา ทั้งกระตุ้นการสั่งซื้อ เพิ่มการจดจำโฆษณา เพิ่มทักศนคติที่ดีต่อแบรนด์ ยกตัวอย่างเช่น จากการศึกษาโดย Alpert และ Alpert (1990) พบว่าหากเปรียบเพลงเศร้า กับเพลงที่มีความสุขหรือไม่มีเพลงเลย เพลงเศร้ามักส่งเสริมการซื้อได้มากกว่าเพลงสไตล์ตรงกันข้าม ดังนั้นหากคุณต้องการกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการลงมือทำ คุณอาจต้องเพิ่มเพลงช้าและเพลงเศร้าเข้าไปในโฆษณาของคุณ
วิธีการใช้พลังจริงของเพลงในโฆษณาของคุณ
เพลงสามารถกระตุ้นอารมณ์ การเล่าเรื่อง และกระตุ้นการลงมือทำ แต่สิ่งที่สำคัญคือ คุณจะใช้พลังของดนตรีเพื่อสร้างโฆษณาให้เกิดผลลัพธ์ในทางที่ดีได้อย่างไร เรามีพื้นฐานง่าย ๆ ที่คุณสามารถนำไปใช้ตามได้ทันที
เลือกเพลงที่ใช่
แบรนด์ที่เข้าใจถึงคุณค่าที่แท้จริงของการสร้างแบรนด์ด้วยการใช้เสียง มักให้ความสำคัญกับการใช้เสียงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแบรนด์อย่างเต็มที่ ยกตัวอย่างเช่น Netflix ได้เชิญ Lon Bender นักตัดต่อเสียงชื่อดังที่ได้รับรางวัลออสการ์มาสร้างเสียงที่มีเอกลักษณ์ให้กับ Netflix ซึ่งมีความยาวเพียง 3 วินาทีว่า ‘Ta-Dum’ โดยได้ขยายเพิ่มเป็น 16 วินาทีโดย Hans Zimmer ผู้เป็นนักแต่งเพลงชาวเยอรมันที่โด่งดังระดับโลก เพื่อนำมาใช้ในภาพยนตร์ของเขา การทำแบบนี้นั้นเริ่มจากการดูบุคลิกและน้ำเสียงของแบรนด์คุณ
ในการเลือกเพลงที่เหมาะสม ให้เริ่มจากบุคลิกและน้ำเสียงของแบรนด์ของคุณ หากคุณเป็นแบรนด์รุ่นใหม่ ที่มีเป้าหมายคือคนรุ่นมิลเลนเนียลและ Gen Z การใช้เพลงยอดนิยมก็จะช่วยให้คนจดจำแบรนด์ของคุณได้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากคนกลุ่มนี้มักมีการตอบสนองที่ดีกับเพลงที่ดูคล้ายคลึงกับเพลงที่พบได้บ่อยบนโซเชียลมีเดีย แต่ในทางกลับกันถ้าเป้าหมายของคุณคือคนที่มีอายุมากขึ้นมาอีก แนะนำให้ใช้เป็นเพลงบรรเลงช้า ๆ ก็จะเหมาะกว่า เพราะเขากลุ่มนี้มักไม่คุ้นชินกับเพลงป๊อปเสียงดัง
เพื่อให้ได้ผลมากขึ้น ก่อนที่จะเลือกเพลงแนะนำว่าให้กำหนดเป้าหมายโฆษณาของคุณให้ชัดเจน รวมถึงกำหนดเป้าหมายว่าจะให้แรงบันดาลใจ เล่าเรื่อง สร้างอิทธิพลที่มีผลต่อพฤติกรรมของลูกค้า หรือว่าสร้างการรับรู้ถึงแบรนด์ เพื่อที่จะเลือกเพลงที่เหมาะสมสมกับเป้าหมายของคุณได้ดี
คุณภาพและกลยุทธ์
การดึงดูดความสนใจของลูกค้าของคุณไม่ใช่เส้นทางที่มีคุณแค่เพียงคนเดียว เสียงหรือโน้ตเพลงเป็นแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น สิ่งที่ท้าทายที่สุดคือ การใช้เสียงสื่อสารแบรนด์ได้อย่างสร้างสรรค์และมีกลยุทธ์เพื่อตอกย้ำแบรนด์ให้เป็นที่จดจำ
รักษาความสมดุล
สุดท้ายนี้ การรักษาสมดุลระหว่างภาพลักษณ์แบรนด์ ข้อความที่สื่อสาร เป้าหมายโฆษณา และภาพที่ใช้สื่อสาร ทั้งหมดนี้ต้องสอดคล้องกันถือเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ สร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้ไม่รู้ลืม
จากการศึกษาของ Neuro-Insight พบว่าโฆษณาที่มีภาพและเสียง เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกันอย่างขาดไม่ได้ สามารถเพิ่มการจดจำได้สูงขึ้นถึง 14%
ยกตัวอย่างเช่น โฆษณาโทรทัศน์ของ Sony Bravia Television ที่ใช้กีตาร์บัลลาดบรรเลงโดย Jose Gonzalez เพื่อสร้างแรงดึงดูดและให้เกิดความน่าหลงใหล เพื่อบันทึกและสื่อสารถึงความงามที่เรียบง่ายในชีวิตประจำวัน เป็นเพลงที่ดูผ่อนคลายซึ่งเป็นอารมณ์หลักเวลาดูโทรทัศน์ เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างภาพ ข้อความ อารมณ์ และดนตรี
สร้างโฆษณาที่เป็นที่ประทับใจด้วยเพลงที่ถูกต้อง
ดนตรีมีอยู่ทั่วไปทุกหนทุกแห่ง เลยไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมจึงเป็นเครื่องมืออันทรงพลังในการสร้างการสื่อสาร และสร้างความสัมพันธ์ทางอารมณ์กับลูกค้าของคุณ รวมทั้งโฆษณามักเป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญสำหรับหลายแบรนด์ การใช้เพลงที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากสามารถสร้างหรือทำลายความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเป้าหมายและแบรนด์ของคุณได้นั่นเอง
Comments